เมนู

วินัยวรรคที่ 3


[72] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก
อาบัติ 1 รู้จักอนาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1 เป็น
ผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและ
โคจร มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1
ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล.
เป็นวินัยธรได้.
[73] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
7 ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม 7 ประการนี้เป็นไฉน คือ รู้จัก
อาบัติ 1 รู้จักอานาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1
จำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดี
แล้ว วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ 1 มีปกติได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมี
ในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1 ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้.

[74] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก
อาบัติ 1 รู้จักอนาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1 หนักอยู่
ในพระวินัยไม่ง่อนแง่น 1 มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน 1 ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึง
อยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ
นี้แล เป็นวินัยธรได้.
[75] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก
อาบัติ 1 รู้จักอนาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1 ย่อม
ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
ของชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทส ด้วยประการฉะนี้ 1 ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่
กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ 1 ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้.
[76] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการ เป็นพระวินัยธรงาม ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ
รู้จักอาบัติ 1 รู้จักอนาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1

เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1 มีปกติได้
ตามปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1 ทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นวินัยธร
งาม.
[77] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการ เป็นวินัยธรงาม ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก
อาบัติ 1 รู้จักอานาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1 จำ
ปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดีแล้ว
วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ 1 มีปกติได้ตาม
ความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1 ทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม.
[78] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการเป็นพระวินัยธรงาม ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก
อาบัติ 1 รู้จักอานาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติ หนัก 1 หนัก
อยู่ในพระวินัย ไม่ง่อนแง่น 1 มีปกติได้ตามความปรารถนา ฯลฯ
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1 ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรม 7 ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม.
[79] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการ เป็นพระวินัยธรงาม ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ 1 รู้จักอานาบัติ 1 รู้จักอาบัติเบา 1 รู้จักอาบัติหนัก 1 ย่อม
ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทส ด้วยประการฉะนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่
กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยประการฉะนี้ 1 ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ
เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม.
[80] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่
ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี เธอพึงรู้ธรรม
เหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้
โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอน
ของศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบ

ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอ
พึงทรงคำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา.
[81] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ 7
ประการนี้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดแล้ว ๆ ธรรม 7 ประการ
เป็นไฉน คือ สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย (สำหรับระงับต่อหน้า) 1
พึงให้สติวินัย (สำหรับพระอรหันต์ผู้มีสติไพบูลย์) 1 พึงให้อมูฬห-
วินัย (สำหรับภิกษุบ้า) 1 ปฏิญญาตกรณะ (ได้ทำการปรับโทษ
ตามคำปฏิญาณ) 1 เยภุยยสิกา (ปรับโทษถือข้างมากเป็นประมาณ)
1 ตัสสปาปิยสิกา (ปรับโทษสมกับความผิดแก่ภิกษุจำเลยนั้น) 1
ติณวัตถารกะ (ตัดสินทำนองกลบหญ้า คือ ทำการประนีประนอม)
1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ 7 ประการนี้แล
เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดแล้ว ๆ.
จบ วินัยวรรคที่ 3

วินัยธรวรรคที่ 8


อรรถกถาปฐมวินัยธรรมสูตรที่ 1


วรรค 8

ปฐมวินัยธรสูตรที่ 1 (ข้อ 72) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาปตฺตึ ชานาติ ความว่า ย่อมรู้อาบัตินั่นแหละว่า
เป็นอาบัติ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาปฐมวินัยธรสูตรที่ 1

อรรถกถาทุติยวินัยธรสูตรที่ 2


ทุติยวินยธรสูตรที่ 2

( ข้อ 73) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สฺวาคตานิ แปลว่า มาดีแล้ว คือ คล่องดีแล้ว. บทว่า
สุวิภตฺตานิ ความว่า แบ่งเป็นส่วนไว้ด้วยดีแล้ว. บทว่า สุปฺปวตฺตินี
ความว่า เป็นไปด้วยดี ในที่ นึกได้ ๆ คือ สวดได้คล่องแม่นยำ
บทว่า สุวินิจฺฉิตานิ แปลว่า วินิจฉัยดีแล้ว. บทว่า สุตฺตโส ได้แก่
โดยวิภังค์. บทว่า อนุพฺพญฺชนโส ได้แก่ โดยขันธกะ และบริวาร.
จบ อรรถกถาทุติยวินัยธรสูตรที่ 2